ผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยฝ้ายเป็นผ้าที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากผ้าฝ้ายสามารถดูดซับเหงื่อและความชื้นจากร่างกายได้ดี ทำให้สวมใส่สบายดังนั้น ผ้าฝ้ายจึงถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มหลายชนิดทั้งเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป รวมถึงเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในงานเฉพาะกิจต่างๆ เช่น ชุดทำงานสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Work Wear) หรือผู้ที่ต้องทำงานในสภาวะที่ต้องเจอกับความร้อนและสะเก็ดไฟ หรือชุดผจญเพลิง แต่ด้วยสาเหตุที่ผ้าฝ่ายติดไฟง่าย ดังนั้น การตกแต่งให้ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) สำหรับนำไปใช้ทำเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ในงานเฉพาะกิจข้างต้นนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ประเภทของสารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant)
สารหน่วงการติดไฟแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีได้ 5 ประเภท คือ
- สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารประกอบโบรมีน (Brominated Flame Retardants)
- สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารประกอบคลอรีน (Chlorinated Flame Retardants)
- สารหน่วงการติดไฟที่มีฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบ (Phosphorus containing Flame Retardant)
- สารหน่วงการติดไฟที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (Nitrogen containing Flame Retardant)
- สารหน่วงการติดไฟที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic Flame Retardant)
รูปแสดง ปริมาณการใช้งานของสารหน่วงการติดไฟกลุ่มต่างๆ
การใช้สารหน่วงไฟในทางสิ่งทอ
ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าผืน ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ผ้ากันไฟ (Flame Retardant) โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) การเคลือบสารเคมีในเส้นใยก่อนที่จะนำไปทอผ้า
(2) การเคลือบสารเคมีในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตเป็นผืนผ้าแล้ว
ซึ่งการเคลือบสารในประเภทแรก จะมีมาตรฐานกันไฟได้ดีกว่าประเภทหลัง
ผ้ากันไฟไม่ได้หมายความว่า ไม่ติดไฟ แต่จะมีลักษณะเหมือนจุดบุหรี่ จะไม่เกิดการลามของเปลวไฟ จะเหลือแค่ขี้เถ้า การกันไฟจะดีหรือไม่ดีจะขึ้นอยู่กับระยะเวลา (วินาที) และระยะทาง (เซนติเมตร) ในระหว่างการเผาไหม้
ในปัจจุบัน เริ่มนิยมใช้ผ้ากันไฟใน โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ บ้างแล้ว
การเลือกใช้สารหน่วงการติดไฟมักขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชนิดของวัสดุ ราคา ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้คือ
- จะต้องแสดงความเป็น Flame Retardant ได้สูง
- จะต้องทนต่อการซักล้างได้ดี
- จะต้องใช้ง่ายในกระบวนการหรือเครื่องจักรทั่วไป
- มีผลต่อผิวสัมผัสของวัสดุน้อย
- ไม่มีผลทำให้ผ้าเหลือง
- สามารถใช้ร่วมกับสารอื่นได้
- ต้องไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และการถ่ายเทอากาศของผ้าไม่ลดลงมากเกินไป
- ไม่เกิดการ Decompose ให้ก๊าซที่เป็นพิษ
- ความแข็งแรงของผ้าไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
รูปตัวอย่างผ้ากันไฟ (Flame Retardant)
สำหรับการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกควรเลือกใช้สารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับพลาสติกได้ และไม่ควรสลายตัวด้วยความร้อนจากกระบวนการขึ้นรูป วัสดุที่มักมีการหน่วงสารติดไฟ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเฟอร์นีเจอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างสารหน่วงการติดไฟ (Flame Retardant) ของบริษัท
Apcoflame FR-C เป็นสารหน่วงไฟในกลุ่ม Organic phosphorus compound
Reference:
ดร.ธนาวี ลี้จากภัย. 2546. สารหน่วงการติดไฟ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา:
https://www.mtec.or.th/
รูปตัวอย่างผ้ากันไฟ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา:
http://2b1international.com/